ใครคือเจ้าของห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า

เชื่อว่าคนยุคเก่าน่าจะรู้จักห้าง พันธุ์ทิพย์พลาซ่า เป็นอย่างดี เพราะห้างนี้คือห้างสรรพสินค้ายุคแรกๆ ของประเทศไทย และเป็นศูนย์กลางอุปกรณ์ไอทีและคอมพิวเตอร์แห่งแรงที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของเมืองไทยอีกด้วย ซึ่งแต่ก่อนนั้น ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ไม่ได้ชื่อว่าพันธุ์ทิพย์มาตั้งแต่แรก ซึ่งเดิมทีชื่อว่าห้างสรรพสินค้าเอ็กซ์เซล และค่อยมาเปลี่ยนเป็นพันธุ์ทิพย์พลาซ่า

ซึ่งเปิดบริการครั้งแรกเมื่อปี 2557 โดยห้างตั้งอยู่ที่ประตูน้ำเป็นแห่งแรก และห้างนี้ก็ยังเป็นห้างแรกๆ ที่นำลิฟท์แก้วมาใช้ รวมถึงการตรวจสอบราคาสินค้าด้วย bar code อีกด้วย และเมื่อเวลาผ่านไป ธุรกิจห้างสรรพสินค้าก็เริ่มมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้จำนวนลูกค้าที่มาเดินในพันธุ์ทิพย์เริ่มลดน้อยลงไป

ซึ่งในเวลานั้นเองผู้บริหารของห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ก็แก้เกมด้วยการปรับปรุงพื้นที่บางส่วนให้เป็นตลาดเฉพาะกลุ่ม เช่น กลุ่มเช่าพระเครื่องและร้านจำหน่ายสินค้ามือสอง และในช่วงที่ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์เริ่มเฟื่องฟู ทางห้างเองก็ได้แบ่งพื้นที่ให้กับสำนักงานขายคอนโดต่างเข้ามาเช่าเป็นจำนวนมาก  อีกทั้งในช่วงปี 2541

ที่ยุคนั้น กลุ่มสินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอทีเติบโตอย่างรวดเร็ว ห้างพันธุ์ทิพย์ที่เห็นเทรนด์สินค้ากลุ่มนี้ จึงได้มีการปรับรูปแบบให้เป็นศูนย์รวมร้านค้าพวกสินค้าคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ไอทีแห่งแรกของประเทไทย ซึ่งในยุคนั้นเรียกว่าเป็นยักษ์ใหญ่แห่งองค์การไอทีมากๆ และนอกจากสินค้ากลุ่มคอมพิวเตอร์และไอทีแล้วนั้น ก็ยังมีสินค้าพวกแผ่นซีดีที่ละเมิดลิขสิทธิ์ มาวางจำหน่ายกันอีกมากมาย ซึ่งความโด่งดังนี้ถึงขนาดที่มีนักร้องชื่อดัง เอาชื่อพันธุ์ทิพย์ไปแต่งเป็นเพลงอีกด้วย จนมาถึง ณ ปัจจุบันนี้ ห้างพันธุ์ทิพย์พลาซ่า มีทั้งหมด 4 สาขาในประเทศไทย

คือที่ประตูน้ำ สาขาแรก และยังมีที่บางกะปิ นนทบุรี และจังหวัดเชียงใหม่ รวมเป็นทั้งหมดสี่สาขาด้วยกัน ส่วนเจ้าของห้างนี้ก็คือกลุ่มบริษัท แอสเสท เวิรด์ รีเทล จำกัด ซึ่งทำธุรกิจบริการให้เช่าอสังหาริมทรัพย์ นั่นเอง และอันที่จริงแล้วกลุ่มบริษัทนี้ก็ไม่ได้มีแค่ห้างพันธุ์ทิพย์ พลาซ่า ที่อยู่ในมือเท่านั้น แต่ยังมี ตะวันนา บางกะปิ, ศูนย์การค้า เกตเวย์, เอเชีย ทีค และอีกมากมายหลายสถานที่

แต่ไม่ว่าจะอย่างไร เมื่อยุคมันเปลี่ยนไป ความท้ายทายในธุรกิจนี้ก็เข้ามาเยือน เพราะลูกค้ามีทางเลือกในการซื้อของมากมายทางออนไลน์ จึงทำให้พันธุ์ทิพย์พลาซ่า ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตัวเองครั้งใหญ่อีกครั้ง ด้วยการผันตัวเองมาเป็นศูนย์ค้าส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่ชื่อ AEC Trade Center

ซึ่งวางตัวเองเป็นศูนย์จำหน่ายสินค้าหลากหลาย เช่นเฟอร์นิเจอร์ เสื้อผ้า และของตกแต่งบ้าน ดังนั้นมันจึงเหมือนเป็นการสร้างตำนานบทใหม่อีกครั้งของกลุ่มเจ้าของพันธุ์ทิพย์พลาซ่า ว่าจะปรับตัวเองให้รอดได้อีกครั้งหรือไม่

 

สนับสนุนโดย.  กริลแอร์