พะซู ประเพณีแต่งงานของชาวภูไท

ชาวภูไทเป็นชนเผ่าที่มีการอพยพมาจาก เมืองบก เมืองวัง เมืองมหาไซ ประเทศลาว

บางครั้งไทยได้ไปตี เมืองลาว และกวาดต้านผู้คนมาเป็นเชลยศึกในสมัยรัชกาลที่3เมื่อได้ข้ามแม่น้ำโขงมาก็ได้มีการแบ่งออกเป็นหลายๆกลุ่มตามชุมชนที่ได้ถูกกวาดต้านมากลุ่มที่1ได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในอําเภอเขาวง กุดชินราย คำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์อีกกลุ่มหนึ่งเดินทางไปตั้งถิ่นฐานอยู่ในแถบอำเภอ คำชะอี อําเภอหนองสูง จังหวัดมุกดาหาร กลุ่มสุดท้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ หนองหารหลวง

ซึ่งเป็นจังหวัดสกลนครในปัจจุบันแล้วแยกเดินทางออกไปตั้งถิ่นฐานที่บ้านพานพร้ามซึ่งเป็นอำเภอพรรณานิคมในปัจจุบัน และในกลุ่มนี้เองชาวภูไทที่มาจากบ้านผาขาด เมืองวงคำได้แยกออกมาตั้งรกลากทำมาหากินอยู่ที่ดงป่าแฟงซึ่งคือวัดสีสุพักบ้านต้นมะม่วงในปัจจุบันและตั้งบ้านดงส้มโฮงในปัจจุบันชาวภูไทกลุ่มนี้เองยังคงเอาวัฒนาธรรม ประเพณีต่างๆตามมาด้วย

ซึ่งจะยังเห็นประเพณีหลายๆอย่างที่ได้ดำเนินมา พะซู หรืองานแต่งงานก็เช่นกันก็เป็นประเพณีอีกอย่างหนึ่งที่ชาวภูไทได้สืบทอดกันมา ผู้เฒ่าผู้แก่ ได้เล่าถึงตำนานของ พะซู ว่าตามตำนานนั้นมีเมืองยักษ์เมืองหนึ่งมียักษ์ตนหนึ่งชื่อว่ายักษ์กุมภัณฑ์มาหลงชอบสาวชาวมนุษย์ที่เมืองเปงจานชื่อนางสุมณฑายักษ์กุมภัณฑ์ได้เอานางสุมณฑาหนีไปอยู่ที่เมืองยักษ์ทางเมืองมนุษย์ได้ส่งโอรสไปล้ำเรียนวิชาจนเก่งกล้าและได้ส่งให้ไปต่อสู่กับยักษ์ชิงเอานางสุมณฑากลับมา

เมื่อนานวันยักษ์กุมภัณฑ์อดทนคิดถึงภรรยาไม่ได้จึงได้จัดขบวนอันยิ่งใหญ่กลับมาที่เมืองมนุษย์มาขอยินยอดต่อการกระทำที่ผิดทุกประการและได้มาขอแต่งงานตาม ประเพณีของเมืองเปงจาน และด้วยเหตุนี้เองในกระบวนการแห่ของเจ้าบ่าวภูไทจึงสังเกตเห็นเจ้าบ่าวจะต้องถือขวดน้ำอันเป็นในว่าจะต้องเดินทางมาไกลใช้น้ำระหว่างการเดินทางเพื่อความชุ่มเย็นและจะเห็นเพื่อนเจ้าบ่าวถือ หอก ดาบอาวุธมาด้วยนั้น

เป็นในว่าเป็นทหารกล้าที่คอยปกปักรักษาเจ้าบ่าวนั่นเองนอกจากนั้นยังมีกล้วย อ้อย เป็นในว่าเจ้าบ่าวจะเป็นผู้ที่นำเอาความอุดมสมบูรณ์มาให้กับครอบครัวสิ่งที่สำคัญในเครื่องที่ใช้ในการแต่งงาน หรืองาน  พะซู ที่บรรจุภัณฑ์อยู่ในพาชนะที่สานด้วยไม้ไผ่เรียกว่า กระหยั๋งโอม ซึ่งจะต้องมี หมาก พลู ยาสูบเป็นจำนวน8ชุด ซึ่งเรียกว่ารูปแปดแหลม แสบแปดตัดไก่ตามจำนวนต่างๆพร้อมด้วยเงินค่าสินสอดหรือเรียกว่า ค่าดอง